วันพฤหัสบดี

รอบรู้เรื่องเมลามีน

รอบรู้เรื่องเมลามีน
ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งของจีนในรอบเดือนนี้ นอกจากการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลกอย่างการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกแล้วยังมีข่าวดัง ที่ทารกหลายราย เสียชีวิต และอีกหลายพันคนที่ป่วยหนักจากการดื่มนมผงที่ผลิตขึ้นมาในประเทศจีน จนกระทั่งบริษัทซันลู่กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทต้นเหตุผู้ผลิตนมผงมรณะดังกล่าวต้องเรียกเก็บสินค้าคืน และประธานบริษัทก็ถูกรวบตัวเพื่อขยายผลดำเนินคดีต่อ หากยังจำกันได้ สินค้าที่ผลิตในประเทศจีนนั้นมีปัญหาด้านคุณภาพบ่อยครั้ง โดยเฉพาะสินค้าสำหรับเด็ก เช่นการที่บริษัทแมตเทลต้องเรียกสินค้าที่เป็นของเล่นสำหรับเด็กในอเมริกาคืนทั้งหมดเมื่อปีก่อน หลังจากที่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วในสีที่ใช้ในของเล่นซึ่งมีปริมาณมากกว่าที่กำหนดไว้ถึง 180 เท่า และเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ก็พบว่ามีเด็กทารกที่ล้มป่วยจากโรคนิ่วในไตถึงกว่าหกพันคน และมีสามคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มนมที่ปนเปื้อนสารเมลามีน ปัญหาเรื่องการเจือสารเมลามีนในนมผง ได้ทำให้ทางการจีนต้องเร่งรีบตรวจสอบ โดยทางคณะรัฐมนตรีได้แถลงข่าวในตอนเช้าวันพุธ (17 ก.ย.) โดยระบุว่า ทั่วประเทศจีนมีบริษัทที่ทำการผลิตนมผงสำหรับเด็กทั้งสิ้น 175 แห่ง ซึ่งในขณะนี้ได้มีการหยุดการผลิตไปแล้ว 66 ที่ และจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จำนวน 491 รายการจากอีก 109 บริษัทที่เหลือ ผลปรากฏว่ามีสินค้าจำนวน 69 รายการจาก 22 บริษัทที่มีสารเมลามีนผสมอยู่ในสัดส่วนที่มากน้อยต่างกันออกไป ซึ่งการการตรวจสอบในครั้งนี้พบว่า นมผงที่ผลิตจาก บริษัทซานลู่ ในสือเจียจวงมีปริมาณสารเมลามีนที่สูงมาก โดยในสินค้าที่มีมากที่สุดมีถึง 2,563 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่สินค้าตัวอื่นๆอยู่ที่ 0.09 – 619 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเมลามีน คืออะไร
เมลามีน คือ พลาสติกชนิดหนึ่งมีสารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นส่วนประกอบ หรือที่เรารู้จักคุ้นเคยกันคือ ฟอร์มาลีน ส่วนใหญ่เมลานีนจะถูกนำมาผลิตพลาสติก จานเมลามีน ถุงพลาสติก พลาสติกสำหรับห่ออาหาร นอกจากนี้เมลามีนยังอยู่ในอุตลาหกรรมเม็ดสี เป็นหมึกพิมพ์สีเหลือง นอกจากนี้ยังนำไปทำน้ำยาดับเพลิงคุณภาพดี น้ำยาทำความสะอาด และปุ๋ย เพราะโครงสร้างของเมลามีนมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่ค่อนข้างสูงคุณสมบัติเมลามีน
เป็นเมตาโบไลท์ของไซโรมาซีน(Cyromazine) ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งเมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพืช ได้รับเข้าไปในร่างกายจะสามารถเปลี่ยนไปเป็นเมลามีนได้ มีไนโตรเจน 66.67 % คิดเป็นปริมาณโปรตีนได้ 416.66 % จัดเป็นพวก Non-Protein Nitrogen (NPN) ในสัตว์กระเพาะรวม แต่ไม่นิยมใช้เพราะการ Hydrolysis ช้าและไม่สมบูรณ์เหมือนยูเรีย ลักษณะเป็นผงสีขาว มีสูตรโครงสร้างทางเคมี C3H6 N6 (1,3,5 Triazine 2,4,6 Triamine) ละลายน้ำได้น้อย เมลามีนคุณภาพดีจะนำไปทำเม็ดพลาสติกเรียกเม็ดเลซินเมลามีน ส่วนเศษที่เหลือหรือเมลามีนที่คุณภาพเลวจะนำกลับไปทำของใช้ ซึ่งเมลานีนคุณภาพเลวนี้ขบวนการของมันไม่สมบูรณ์จึงมีราคาถูก และเกิดอนุพันธ์ของเมลามีนขึ้นหลายชนิด เรียกว่า เมลามีนอันนาล็อก ประกอบด้วย ammeline, ammelide และ cyanuric acid แม้จะเป็นอนุพันธ์ของเมลามีน แต่ก็ยังมีโปรตีนสูงถึง 224.36 % เมลามีนในประเทศจีน
จีนมีโรงงานผลิตเมลามีน 3 แหล่งใหญ่ ๆ ซึ่งร่ำรวยมาก ผลิตเมลามีนเดือนละหลายหมื่นตันในเมืองจีน เมลามีนวางขายหลากหลายยี่ห้อ และมีการับรองมาตรฐานอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการประกาศขายเมลามีนผ่านทางอินเตอร์เน็ตอย่างเปิดเผย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในเมืองจีนมีขาย และใช้กันมากในการผลิตอาหารสุนัข อาหารสุกร รวมถึงแป้งที่คนกิน นอกจากจะนำมาใช้ในประเทศแล้ว จีนยังมีการส่งเมลามีนเข้าไปขายในประเทศที่ 3 ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเชีย และฟิลลิปปินส์ โดยไม่ได้นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมจานเมลามีน แต่เอามาปนเปื้อนในอาหารคนอาหารสัตว์ ซึ่งผู้ขายจากจีนจะไม่บอกว่าเป็นเมลามีนโดยบอกว่าเป็น ไบโอโปรตีน โดยเป็นเมลานีนเศษเหลือจากโรงงานพลาสติก ราคาถูก นำเข้าในราคากิโลกรัมละ 1.20 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เมืองจีนราคาประมาณกิโลกรัมละ 1-2 หยวนเท่านั้น
ในตอนนั้นไม่มีใครคิดว่าสารที่เข้ามาเป็นเมลามีน เพราะไม่มีน้ำยาสำหรับตรวจสอบได้ มีแต่ตรวจเช็คการปนเปื้อนยูเรีย Non-Protein Nitrogen คือ ปุ๋ย เป็นพวกแอมโมเนียมไนเตรท แอมโมเนียมฟอสเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต นอกจากนั้นยังมีการตรวจการปนเปื้อนขนไก่ไฮโดรไลซ์เศษหนังเท่านั้น
อาหารที่เสี่ยงปนเปื้อนสารเมลามีน สำหรับเหตุการณ์ครั้งนี้ มีสารเมลามีนปนเปื้อนมาในนมผง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของนมผงที่นำเข้าจาก 22 บริษัทของประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นขนม ลูกอม นม คุ้กกี้ ไอศกรีม โยเกิร์ต ฯลฯ ก็เข้าข่ายเสี่ยงไปด้วย
ในประเทศไทยเองสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ได้สั่งงดนำเข้า และขอร้องให้ร้านค้าต่างๆ งดจำหน่ายขนมที่มีแหล่งผลิตจากจีนแล้ว โดยสินค้าที่ต้องนำไปตรวจสอบก่อน ได้แก่
- ไอศกรีมวอลล์ มู - ขนมปังกรอบ และข้าวโอ๊ตรสกาแฟ ตราเหมาฮวด หรือคอฟฟี่ โอทมีล แคร็กเกอร์ - เวเฟอร์สติ๊กไวท์ช็อคโกแลต เวเฟอร์เคลือบช็อคโกแลตขาว เครื่องหมายการค้าโอรีโอ - ช็อคโกแลตนมตราโดฟ - ถั่วลิสงคาราเมล และนูกัตเคลือบช็อคโกแลตนม ตราสนิกเกอร์ส - เมนทอส โยเกิร์ต มิกซ์ หรือลูกอมโยเกิร์ตกลิ่นผลไม้รวม - ลูกอมรสนม ยี่ห้อกระต่ายขาว - คุ้กกี้ช็อกโกแล็ตรูปการ์ตูนหมีโคอาล่า - ช็อคโกแลตนมเคลือบน้ำตาลสีต่างๆ ตราเอ็มแอนด์เอ็ม นอกจากนี้ ยังพบสารเมลามีนปะปนในอาหารสัตว์ ไม่ว่าจะปลาป่น รำสกัด โปรตีนจากพืช โปรตีนจากวุ้นเส้น ฯลฯ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลให้สัตว์หลายตัวในสวนสัตว์ของจีนป่วยเป็นโรคไต
ความเป็นพิษของเมลามีนเกิดการระคายเคืองเมื่อสูดดมทำให้ตาและผิวหนังอักเสบ เมื่อกินเข้าไประบบสืบพันธุ์ถูกทำลาย เกิดนิ่วในท่อปัสสาวะและไต เกิดมะเร็งที่ท่อปัสสาวะ ในสุนัขจะขับถ่ายออกมามาก ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะลดลง มีเมลามีนในปัสสาวะสูง และเห็นเกร็ดเล็ก ๆ สีขาวเกิดขึ้นที่ไตและปัสสาวะ โดยน้ำปัสสาวะจะมีสีขาวขุ่นและมีโปรตีนและเลือดถูกขับออกมาด้วย กรณีในคนจะมีปัญหาท่อปัสสาวะล้มเหลว ในปลาไร้เกล็ด(ปลาดุก) เกร็ดจะเกิดผิวสีดำ ตับและไตขนาดใหญ่(ตับแตก) และตายในที่สุดเส้นทางการสืบค้นหาเมลามีนในเมืองไทยจากการตรวจสอบวัตถุที่นำเข้าจากจีนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีสิ่งที่เป็นข้อสงสัยเกิดขึ้นจากการค้นคว้าเจาะลึกลงไป พอดีกับที่ได้ไปงาน VIV ที่จีน พร้อมไปเป็นวิทยากรที่เมืองจีนอีกหลายครั้ง ก็ได้เห็นสินค้าหลากหลายวางขายจึงเก็บมาวิเคราะห์ก็เลยแน่ใจว่าเป็น เมลามีน โดยเมลามีนที่ตรวจพบในเมืองไทยที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบอาหารมีหลากหลายชนิด ประกอบด้วย
- โพลียูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (ผงสีขาว)- โพลีเมธิลคาร์บาไมล์ (ผงสีขาว)- โพลียูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (UF) เรซิน- เมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ (MF) เรซิน- เมลามีนยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (MUF) เรซิน
ซึ่งมีตั้งแต่สีเหลืองจนขาว ขาวเทา เทาและดำ เมลามีน(ผงสีขาว) และเมลามีนไซอนูเลท(เป็นรูปเกลือที่เกิดจากเมลามีนและกรดไซอนูริค) โดยเมื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์โปรตีนพบสูงตั้งแต่ 160-450 % จึงเริ่มมีการทำเทสคิดและสำเร็จในเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา โดยน้ำยาสารละลาย A (ความเป็นด่างสูง) และน้ำยาสารละลาย B (ความเป็นกรมสูง)ขั้นตอนในการตรวจสอบเมลามีน1. ตรวจสอบโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ (ต้องมีความชำนาญและฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยกล้องจุลทรรศน์มาก่อน) จะสามารถเห็นสารนี้ได้ โดยจะเห็นเป็นคริสตัลแวววาวสีแตกต่างกันไปถ้าปลอมปนในโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนจากข้าวโพด ข้าวลาสี ถั่วเหลือง (กากถั่วเหลืองและถั่วอบ) มักจะเป็นสีเหลืองหรือขาว2. หยดสารละลาย A ลงไปจะเกิดตะกอนขุ่นขาวครั้งแรก (มองจากกล้องจุลทรรศน์) และจะเปลี่ยนเป็นตะกอนขุ่นสีเทาดำเกิดขึ้น เมื่อทิ้งไว้ 5-10 นาที จะมีเมือกสีขาวเคลือบอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างจะมีสีดำเทาแสดงว่าเป็นพวก UF ถ้าเป็น MF จะได้สารละลายสีเหลืองและ MUF จะเป็นสีเหลืองอ่อน3. ตรวจสอบจากกล้องจุลทรรศน์ เช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 2 แต่ให้หยดสารละลาย B ลงไปจะเกิดสีชมพู-ม่วงคราม-ม่วงน้ำเงินเกิดขึ้นเป็นพวก UF สำหรับ MF จะได้สีชมพู และ MUF ต้องทิ้งไว้ 15-20 นาที จึงจะเกิดสีชมพูอ่อน4. น้ำตัวอย่างอาหารที่จะทดสอบโดยละลายในน้ำกลั่น อัตราส่วนอาหารต่อน้ำ 1 : 10 แล้วคนให้เข้ากันขณะคนให้สังเกตถ้ามีสารปนเปื้อนอาหารจะจับตัวเป็นขุยก้อนเล็ก ๆ สังเกตดูน้ำที่ใช้ละลายจะไม่ใส มีสีขาวเหมือนน้ำข้าวต้ม แสดงได้ทันทีว่ามีเมลามีนผงสีเทาปนเปื้อน ทิ้งไว้ในตะกอนแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง Whatman No.4 หรือดูดเอาน้ำไปทดสอบกับสารละลาย A และ Bวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักที่ต้องระวังอันดับแรกคือ ปลาป่น โปรตีนจากพืชที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น corn gluten, soy bean meal, soy protein, rice bran, rice protein concentrate โปรตีนจากวุ้นเส้น DDGS จากเมืองจีนและโพลีนคลอไรด์จากเมืองจีน รำสกัดในบ้านเราก็ไม่น่าไว้วางใจ ฟลูแฟตซอยก็เช่นเดียวกันขอขอบคุณข้อมูล จาก www.tlcthai.com/

http://kreathapat.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น