วันอาทิตย์

สวัสดีอีกครั้งครับ วันนี้เอาเรื่องราวของขนมแบบไทยๆมาเล่าสู่กันฟัง ลอดช่องสิงคโปร์ ทำไมจึงเรียกเช่นนี้ รึว่าขนมนี้ มีถิ่นกำเนิดมาจากสิงคโปร์ เชิญอ่านครับ
      
         ลอดช่องสิงคโปร์หรือเซนดอล (Cendol; /ˈtʃɛndɒl/) เป็นขนมพื้นบ้านที่มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย  มาเลเซีย  พม่า  เวียดนาม และสิงคโปร์
ส่วนสาเหตุที่ในประเทศไทยใช้ชื่อว่า "ลอดช่องสิงคโปร์" นั้น มาจากการที่ใน พ.ศ. 2504 ร้านลอดช่องร้านแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช เมื่อผู้คนไปทานจึงมักจะเรียกว่า "ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์" จนในที่สุดตัดทอนเหลือแต่เพียง
 "ลอดช่องสิงคโปร์"
         


ส่วนผสมทั่วไปของลอดช่องสิงคโปร์คือกะทิ แป้งปั้นเป็นรูปแท่งใส่สีเขียว โดยปกติมาจากใบเตย น้ำแข็งปั่นและน้ำตาลมะพร้าว ส่วนผสมเพิ่มอื่นๆได้แก่ ถั่วแดง ข้าวเหนียว เฉาก๊วย ในซุนดา ลอดช่องสิงคโปร์เป็นขนมทำจากแป้งหรือสาคูปั้น เป็นแท่ง กินกับกะทิและน้ำเชื่อมจากน้ำตาลของต้นหมาก ไม่ใส่น้ำแข็ง ในภาษาชวา เซนดอล หมายถึงส่วนที่เป็นแป้งสีเขียวเท่านั้น ถ้านำเซนดอลมารวมกับน้ำตาลมะพร้าว และ กระทิจะเรียก ดาเวต ดาเวตที่นิยมมากที่สุดคือ เอส ดาเวตในชวากลาง ด้วยอิทธิพลจากสิงคโปร์ และอาหารตะวันตก ทำให้มีลอดช่องสิงคโปร์รูปแบบแปลกๆ เช่น กินกับไอศกรีมวานิลลาหรือทุเรียน

การจำหน่าย 

เซนดอลเป็นขนมที่นิยมทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิยมขายทั้งในศูนย์อาหาร ข้างถนนและที่อื่นๆ 
ลอดช่องสิงคโปร์หรือดาเวตดั้งเดิมไม่กินกับน้ำแข็ง แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้มีเซนดอลเย็นกินกับน้ำแข็ง (เอส เซอรัต) เป็นไปได้ว่าในแต่ละประเทศมีสูตรเฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะเมืองเก่าของมาเลเซีย เช่น มะละกา ปีนัง และกัวลาลัมเปอร์

http://kreathapat.blogspot.com