วันพฤหัสบดี

งานประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก







งานประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดตากวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2551 ณ บริเวณแม่น้ำปิง ริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ประเพณีลอยกระทงสาย ของจังหวัดตาก เป็นประเพณีที่นำเอาพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน งานศิลปวัฒนธรรมมาหล่อหลอมรวมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่นปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งจะแตกต่างจากจังหวัดอื่นเพราะส่วนประกอบของกระทงที่ใช้กะลามะพร้าว ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะมีสันทรายใต้น้ำทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามตามธรรมชาติ เมื่อนำกระทงลอยกระทงจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าวเกิดเป็นสายยาวต่อเนื่องของกระทงทำให้แสงไฟของกระทงส่องแสงระยิบระยับเป็นสายยาวตามความยาวของร่องน้ำมีความสวยงามมาก จึงได้มีการพัฒนารูปแบบจากการลอยในชุมชนมาเป็นการแข่งขันลอยกระทงสาย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศเป็นประจำทุกปี และยังได้รับพระราชทานพระประทีปจากพระบรมวงศานุวงศ์รวม 10 พระองค์ มาลอยเป็นปฐมฤกษ์ในการจัดงานสำหรับการจัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวงนี้จะแตกต่างจากจังหวัดอื่นอีกประการหนึ่งคือ ก่อนที่จะมีการแข่งขันลอยกระทงสาย 1 วัน จะต้องนำกระทงขนาดใหญ่ที่เรียกว่ากระทงนำพร้อมกระทงกะลา และกระทงปิดท้าย ซึ่งประดิษฐ์อย่างวิจิตรงดงามออกมาแห่ โดยมีผู้ร่วมขบวนแห่จำนวน 100 คน แต่งกายอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันในวันต่อไป
ในการแข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง ในแต่ละสายจะต้องประกอบด้วย
1. กระทงนำ เป็นกระทงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.50 - 2.50 เมตร ประดิษฐ์ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบตอง ดอกไม้สดที่เย็บเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วจึงนำมาประกอบเป็นรูปกระทง ภายในกระทงต้องมีผ้าสบง เครื่องกระยาบวช หมากพลู ขนม สตางค์ ธูป เทียน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ประยุกต์มาจากแพผ้าป่าน้ำในสมัยโบราณ ส่วนรอบกระทงจะประดับด้วยไฟเพื่อให้เกิดแสงสว่างสวยงาม ก่อนจะนำลงรอยต้องทำพิธีจุดธูปเทียน กล่าวคำขอขมาเป็นการบูชาพระแม่คงคาและพระพุทธเจ้า พร้อมถวายผ้าป่าน้ำแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วจึงลอยเป็นอันดับแรก
2. กระทงกะลา ใช้กะลามะพร้าวจำนวน 1,000 ใบ นำมาขัดถูให้สะอาดทั้งภายในและภายนอก ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฝั่นเป็นรูปตีนกา แล้วหล่อด้วยเทียนขี้ผึ้งซึ่งนำมาจากเทียนจำนำพรรษาที่พระสงฆ์ได้จุดเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสามเดือน หลังจากออกพรรษาชาวบ้านจะนำเทียนเหล่านั้นมาหลอมละลายด้วยความร้อนหล่อลงในกะลาที่มีด้ายรูปตีนกา สำหรับเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟก่อนที่จะปล่อยลงลอย แลดูเป็นสายสวยงามและมีไฟส่องแสงระยิบระยับจนสุดสายตา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่นำกระทงกะลาทุกดวงมาลอยในแม่น้ำปิง
3. กระทงปิดท้าย มีลักษณะคล้ายกระทงนำแต่มีขนาดเล็กกว่า ประดิษฐ์ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบตองและดอกไม้สด ลอยปิดท้ายหลังจากลอยกระทงกะลาครบ 1,000 ใบ พร้อมทั้งมีสัญลักษณ์ให้ทราบว่าได้สิ้นสุดการลอยของสายกระทงนั้นแล้ว
4. การเชียร์ ในขณะที่ทำการลอยกระทงสายอยู่นั้นจะมีกองเชียร์ร่วมร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนานครื้นเครอง เป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ที่ทำการลอย ซึ่งการแสดงเหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นระบบภายใต้กรอบที่กำหนด คือมีผู้แสดงไม่น้อยกว่า 80 คน แต่งกายแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีไทย เพลงที่นำมาร้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับประเพณีไทยหรือวิถีชีวิตของชุมชน ดนตรีที่นำมาบรรเลงต้องใช้เครื่องดนตรีไทยทั้งหมดและจะต้องใช้กะลาเป็นส่วนประกอบของการแสดงอย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งการแสดงทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
กิจกรรมภายในงาน - สัมผัสบรรยากาศและร่วมเชียร์การแข่งขันประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว- ชมขบวนแห่อัญเชิญพระประทีปพระราชทานของพระบรมวงศานุวงศ์ 10 พระองค์ ขบวนแห่ถ้วยพระราชทาน และขบวนแห่กระทงสายประจำปี 2551 ยิ่งใหญ่ตระการตา ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 - ชมพิธีเปิดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง พร้อมการแสดง "ตำนานกระทงสาย" ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551- ชมการลอยกระทงสายยาวที่สุด ยิ่งใหญ่ตระการตามากถึง 80,000 ดวง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551- ชมการประกวดกระทงใหญ่ กระทงผ้าป่าน้ำ กระทงตาม และกระทงปิดท้าย การประกวดการเชียร์ที่สวยสดงดงาม ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551- ชมการแข่งขันปล่อยกระทงสายชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการเชียร์แต่ละชุมชนบนเวทีกลางลำน้ำปิงอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ระหว่างวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2551- ชมการประกวดธิดากระทงสาย วันที่ 8 พฤศจิกายน 2551- การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง - การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 5 - 12 พฤศจิกายน 2551- การประกวดศิลปหัตถกรรมของนักเรียน การประกวดเพลงพื้นบ้านเกี่ยวกับกระทงสาย และการแสดงมหรสพต่างๆ
สอบถามรายละเอียด เทศบาลเมืองตาก โทรศัพท์ 0 5551 8888การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก โทรศัพท์ 0 5551 4341-3
www.loikrathong.net
Loi Krathong Sai FestivalDate : 8 - 12 November 2008Venue : Banks of Ping River,Tak
Highlights :An exceptional opportunity for you to experience the atmosphere of joining the Krathong Sai (floating coconut-shell krathong in line) contest, in order to win His Majesty the King’s trophy. Other remarkable activities will include the floating lanterns of the Royal Family, the procession of the Royal Krathong and lantern, the illumination of Krathong Sai, light and sound presentation, fireworks, water curtain presentation in “The Legend of Krathong Sai”, the longest Krathong Sai, local cultural shows, food and OTOP products.
On Saturday 8th November 2008 at 18.00 hr.The Parades of invitation His Majesty the Royal lamps, Royal Krathong, His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Cup, and 15 teams of Krathong Sai parades. Opening ceremony of competition on Floating Krathong Sai with A Thousand lights at Mae Ping River Centre Stage.
On Sunday 9 - Wednesday 12 November 2008 Compitition on floating Krathong Sai with a thousand lights to be awarded His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Cup 4 teams each night.
Contact: TAT Tak, Tel : 66 (0) 5551 4341-3Website : www.loikrathong.net , www.krathongsaitak.net
ขอบคุณบทความจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
http://kreathapat.blogspot.com